แฟนพันธุ์แท้บอล เท่านั้น!!!

 
 
สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา
Fc barcelona.png
ชื่อเต็ม ฟุบบอลกลุบบาร์เซโลนา (คาตาลัน: Futbol Club Barcelona)
ฉายา L'equip blaugrana (ทีม)
Culers หรือ Culos (ผู้สนับสนุน)
Blaugranes หรือ Azulgranas (ผู้สนับสนุน)
ก่อตั้ง 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1899
ในชื่อ Foot-Ball Club Barcelona
สนามกีฬา กัมนอว์, บาร์เซโลนา
(ความจุ: 99.354[1])
ประธาน ซานโดร โรเซลล์
ผู้จัดการ ชูเซบ กวาร์ดีโอลา
ลีก ลาลีกา
2010–11 อันดับ 1
เว็บไซต์ เว็บไซต์สโมสร
ผู้ทำประตูสูงสุด
ตลอดกาล
เซซาร์ โรดรีเกซ (235)
 
สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่ 3

ประวัติ

[แก้] จุดกำเนิดของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (1899–1922)

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1899 ฮันส์ กัมเปร์ ได้ลงประกาศโฆษณาใน โลสเดปอร์เตส ว่ามีความต้องการที่จะก่อตั้งสโมสรฟุตบอล โดยได้รับการตอบรับอย่างดีในการนัดพบกันที่คิมนาเซียวโซเล เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน โดยมีผู้เล่น 11 คนมาร่วมได้แก่ วอลเตอร์ ไวลด์ (ผู้บริหารคนแรกของสโมสร), ลุยส์ ดีออสโซ, บาร์โตเมว เตร์ราดัส, ออตโต กุนเซิล, ออตโต แมเยอร์, เอนริก ดูกัล, เปเร กาบอต, กาเลส ปูคอล, ชูเซป โยเบต, จอห์น พาร์สันส์ และ วิลเลียม พาร์สัน ทำให้ ฟุตบอลคลับบาร์เซโลนา ก็ถือกำเนิดขึ้นมา[3]

สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประสบความสำเร็จในช่วงแรกกับการแข่งขันถ้วยท้องถิ่นและระดับชาติ ได้ลงแข่งในกัมเปียวนัตเดกาตาลุนยาและถ้วยโกปาเดลเรย์ ในปี ค.ศ. 1902 สโมสรชนะถ้วยแรกในถ้วยโกปามากายา และร่วมลงแข่งในโกปาเดลเรย์ครั้งแรก แต่แพ้ 1–2 ให้กับบิซกายา ในนัดชิงชนะเลิศ[4] กัมเปร์ได้เป็นประธานสโมสรในปี ค.ศ. 1908 แต่สโมสรมีปัญหาด้านการเงินเนื่องจากไม่สามารถชนะการแข่งขันได้ตั้งแต่กัมเปียนัตเดกาตาลัน ในปี ค.ศ. 1905 เขาเป็นประธานสโมสรใน 5 วาระในระหว่างปี ค.ศ. 1908 ถึง 1925 รวม 25 ปี ที่เขาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร หนึ่งในความสำเร็จคือการทำให้สโมสรมีสนามกีฬาของตัวเอง ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง[5]

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1909 สโมสรได้ย้ายไปสนามกัมเดลาอินดุสเตรีย ที่มีที่นั่งจุ 8,000 คน จากปี ค.ศ. 1910 ถึง 1914 บาร์เซโลนาได้ร่วมลงแข่งในถ้วยพิเรนีส ที่ประกอบด้วยทีมที่ดีที่สุดของ ล็องด็อก, มีดี, อากีแตน (ฝรั่งเศสใต้), บาสก์ และ คาเทโลเนีย ในเวลานั้นถือเป็นการแข่งขันที่ดีที่สุดที่เปิดให้เข้าแข่งขัน[6][7] ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สโมสรได้เปลี่ยนภาษาอย่างเป็นทางการของสโมสรจากภาษาคาสติเลียนสเปน (Castilian Spanish) เป็นภาษาคาตาลัน และค่อย ๆ เพิ่มความสำคัญให้กับสัญลักษณ์ที่สำคัญของอัตลักษณ์คาตาลัน เพื่อให้แฟนที่สนับสนุนสโมสรแต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรระหว่างการแข่งขันและเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์กลุ่มของสโมสร[8]

กัมเปร์ได้รณรงค์หาสมาชิกสโมสรเพิ่ม และในปี ค.ศ. 1922 สโมสรมีสมาชิกมากกว่า 20,000 คนและมีฐานะการเงินเพียงพอที่จะสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ สโมสรได้ย้ายไปเลสกอตส์ โดยเปิดสนามใหม่ในปีเดียวกันนี้[9] เดิมทีเลสกอตส์จุผู้ชมได้ 22,000 คน และต่อมาขยายเพิ่มเป็น 60,000 คน[10] แจ็ก กรีนเวลล์ เป็นผู้จัดการเต็มเวลาคนแรกของสโมสรและสโมสรได้เริ่มต้นพัฒนา ในช่วงระหว่างยุคของกัมเปร์ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาชนะถ้วยกัมเปียนัตเดกาตาลัน 11 ครั้ง ถ้วยโกปาเดลเรย์ 6 ครั้ง และถ้วยพิเรนีส 4 ครั้ง ถือเป็นยุคทองยุคแรกของสโมสร[4][5]

[แก้] รีเบรา, สาธารณรัฐ และ สงครามกลางเมือง (1923–1957)

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1925 ฝูงชนที่สนามกีฬาร้องเพลงชาติในการประท้วงต่อระบอบเผด็จการของ มีเกล เด รีเบรา สนามถูกปิดไป 6 เดือนจากการโต้ตอบด้วยกำลังทหาร และกัมเปร์ถูกบีบให้ถอนตัวจากการเป็นประธานสโมสร[11] จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสโมสรสู่ความเป็นมืออาชีพ โดยในปี ค.ศ. 1926 ผู้บริหารบาร์เซโลนาออกมาประกาศต่อสาธารณะว่าบาร์เซโลนาก้าวสู่มืออาชีพเป็นครั้งแรก[9] สโมสรชนะการแข่งขันถ้วยสเปน มีการแต่งบทกวีเพื่อเฉลิมฉลองในชื่อ "โอดาอาปลัตโก" เขียนขึ้นโดยสมาชิกกลุ่มเจเนอเรชันออฟ '27 ที่ชื่อ ราฟาเอล อัลเบร์ตี ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก "วีรกรรม" ของผู้รักษาประตูบาร์เซโลนา[12] เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 กัมเปร์ฆ่าตัวตายหลังจากความเครียดที่มาจากปัญหาส่วนตัวและปัญหาด้านการเงิน[5]

ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยังมีผู้เล่นในการดำรงตำแหน่งของ ชูเซบ เอสโกลา แต่สโมสรก็ถึงยุคแห่งการเสื่อมถอย เนื่องจากความขัดแย้งในเรื่องการเมืองที่ลดความสำคัญด้านกีฬาลง[13] ถึงแม้ว่าสโมสรจะได้ถ้วยกัมเปียนัตเดกาตาลันในปี ค.ศ. 1930, 1931, 1932, 1934, 1936, และ 1938[4] ที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ (ยกเว้นข้อพิพาทเรื่องการชนะในปี ค.ศ. 1937) จากนั้น 1 เดือนหลังสงครามกลางเมืองสเปนเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1936 นักฟุตบอลหลายคนจากบาร์เซโลนาและแอทเลติกบิลบาโอก็เข้าเป็นทหารเพื่อต่อสู้กับการปฏิวัติ[14] เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ชูเซบ ซุนยอล ประธานสโมสรและตัวแทนพรรคสนับสนุนการเมืองเสรี ถูกฆาตกรรมโดยทหารกลุ่มฟาลังเคใกล้กับเมืองกวาดาร์รามา[15] ขนานนามความทุกข์ทรมานในช่วงนี้ของประวัติศาสตร์สโมสรบาร์เซโลนาว่า บาร์เซโลนิสเม (สเปน: barcelonisme)[16] ฤดูร้อนปี ค.ศ. 1937 ผู้เล่นได้เดินทางไปแข่งขันที่เม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ในนามสาธารณรัฐสเปนครั้งที่ 2 การออกแข่งขันนี้ทำให้การเงินของสโมสรมั่นคงขึ้น แต่ก็เป็นผลให้ครึ่งหนึ่งของทีมหาทางลี้ภัยในเม็กซิโกและฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1938 เมืองบาร์เซโลนาถูกโจมตีทางอากาศ มีผู้เสียชีวิต 3,000 คน ระเบิดหนึ่งลูกโจมตีสำนักงานของสโมสร[17] คาเทโลเนียเข้าดูแลอีกหลายเดือนต่อมา และในฐานะสัญลักษณ์ของคาตาลันนิยมที่ไม่มีการดูแล ทำให้สโมสรมีสมาชิกลดลงเหลือ 3,486 คน[18] หลังจากสงครามการเมือง มีการสั่งห้ามธงชาติคาตาลันและสโมสรฟุตบอลที่ไม่ได้ใช้ชื่อสเปน เป็นผลบังคับให้สโมสรต้องเปลี่ยนชื่อเป็น กลุบเดฟุตบอลบาร์เซโลนา (สเปน: Club de Fútbol Barcelona) และเอาธงคาตาลันออกจากตราสโมสร[10]

ในปี ค.ศ. 1943 บาร์เซโลนาเผชิญกับคู่แข่ง เรอัลมาดริด ในรอบรองชนะเลิศของโกปาเดลเคเนราลีซีโม นัดแรกแข่งที่เลสกอตส์ บาร์เซโลนาชนะ 3–0 ก่อนการแข่งในนัดที่ 2 จอมพลฟรันซิสโก ฟรังโกเข้าเยี่ยมห้องเปลี่ยนชุดของทีมบาร์เซโลนา ฟรังโกเข้าเตือนพวกเขาว่าที่เขาเล่นได้นั้นเนื่องจาก "เป็นความกรุณาต่อระบอบการปกครอง" ในนัดถัดมาเรอัลมาดริดชนะการแข่งขันขาดลอย 11–1[19] ถึงแม้ว่ามีความลำบากในสถานการณ์การเมือง แต่บาร์เซโลนาก็ยังประสบความสำเร็จในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 ในปี ค.ศ. 1946 ชูเซบ ซามีเตียร์ ผู้จัดการทีมและผู้เล่นอย่าง เซซาร์, รามัลเลตส์ และ เบลัสโก นำบาร์เซโลนาชนะในลาลีกาครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 และยังชนะอีกครั้งในปี ค.ศ. 1948 และอีกครั้งใน ค.ศ. 1949 พวกเขายังได้รับรับถ้วยละตินคัปครั้งแรกในปีนั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950 ได้เซ็นลาดิสเลา คูบาลา ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพลให้การก่อร่างสร้างตัวของสโมสร

ในวันอาทิตย์ที่ฝนตกของปี ค.ศ. 1951 กลุ่มคนออกจากสนามกีฬาเลสกอตส์ด้วยเท้าเปล่า หลังจากสโมสรชนะราซิงเดซานตันเดร์ โดยปฏิเสธการขึ้นรถรางและสร้างความประหลาดใจให้กับเจ้าหน้าที่ของจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก การประท้วงรถรางเกิดขึ้นในบาร์เซโลนาซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากแฟนทีมบาร์เซโลนา เหตุการณ์ที่เกิดเช่นนี้ทำให้แสดงให้เห็นความเป็นอะไรที่มากกว่าคาเทโลเนีย ชาวสเปนหัวก้าวหน้ามองว่าสโมสรเป็นผู้พิทักษ์ซึ่งซื่อสัตย์ต่อสิทธิและเสรีภาพ[20][21]

ผู้จัดการ เฟอร์ดินานด์ เดาชีก (สโลวัก: Ferdinand Dau?ík) และ ลัสโซล คูบาลา นำทีมให้ได้รับถ้วย 5 รางวัล รวมถึงในลาลีกา, โกปาเดลเคเนราลีซีโม (ต่อมาใช้ชื่อว่า โกปาเดลเรย์), ละตินคัป, โกปาเอบาดัวร์เต และโกปามาร์ตีนีรอสซี ในปี ค.ศ. 1952 ต่อมาในปี ค.ศ. 1953 สโมสรชนะในลาลีกาและโกปาเดลเคเนราลีซีโม อีกครั้ง[10]

[แก้] กลุบเดฟุตบอลบาร์เซโลนา (1957–1978)

Barcelona stadium seen from above. It is a large and asymmetrically shaped dome.
สนามกีฬากัมนอว์ สนามการแข่งขันของสโมสรที่เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1957 ด้วยทุนจากผู้สนับสนุนสโมสร[22]

ด้วยการนำทีมของผู้จัดการเอเลเนียว เอร์เรรา กับนักฟุตบอลยอดเยี่ยมยุโรปแห่งปี ค.ศ. 1960 ลุยส์ ซัวเรซ และนักฟุตบอลชาวฮังการี 2 คนที่ได้รับคำแนะนำจากคูบาลา คือ ซันดอร์ คอชซิส (ฮังการี: Sándor Kocsis) และซอลตัน ซีบอร์ (ฮังการี: Zoltán Czibor) ที่ทำให้ทีมได้ชนะการแข่งขันระดับชาติ 2 รางวัลในปี ค.ศ. 1959 และในลาลีกาและอินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัป ในปี ค.ศ. 1960 และในปี ค.ศ. 1961 พวกเขาเป็นทีมแรกที่ชนะเรอัลมาดริดได้ในการแข่งขันยูโรเปียนคัป แต่ก็แพ้ให้กับไบฟีกาในรอบชิงชนะเลิศ[23][24][25]

ในคริสต์ทศวรรษ 1960 สโมสรประสบความสำเร็จน้อยลง เรอัลมาดริดถือครองแชมป์แต่เพียงผู้เดียว สนามกีฬาของสโมสรกัมนอว์สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1957 ซึ่งหมายถึงสโมสรมีเงินไม่มากที่จะซื้อตัวผู้เล่นใหม่[25] ส่วนในด้านบวกแล้ว เป็นทศวรรษแห่งการแจ้งเกิดของ ชูเซบ มาเรีย ฟุสเต และ กาเลส เรชัก สโมสรชนะในถ้วยโกปาเดลเคเนราลีซีโม ในปี ค.ศ. 1963 และถ้วยแฟส์คัปใน ค.ศ. 1966 สโมสรกลับมาเล่นได้ดีอีกครั้งในการชนะคู่แข่งเดิม เรอัลมาดริด โดยชนะ 1–0 ในถ้วยโกปาเดลเคเนราลีซีโมปี ค.ศ. 1968 ในนัดตัดสินที่สนามเบร์นาเบวต่อหน้าจอมพลฟรังโก โดยการนำทีมของอดีตนักบินสาธารณรัฐ ซัลบาดอร์ อาร์ตีกัส ในฐานะผู้จัดการทีม เมื่อจบยุคระบอบเผด็จการของจอมพลฟรังโก ในปี ค.ศ. 1974 สโมสรก็ได้เปลี่ยนชื่อทางการเป็น ฟุบบอลกลุบบาร์เซโลนา และเปลี่ยนตราสัญลักษณ์สโมสรมาเป็นแบบเดิม กับตัวอักษรดั้งเดิม[26]

ในฤดูกาล 1973–74 สโมสรซื้อตัว โยฮัน ครัฟฟ์ จากอาแจ็กซ์ ด้วยค่าตัว 920,000 ปอนด์ ถือเป็นสถิติโลกในสมัยนั้น[27] ซึ่งเป็นนักฟุตบอลที่เป็นที่ยอมรับอยู่แล้วในฮอลแลนด์ ครัฟฟ์ได้สร้างความประทับใจอย่างรวดเร็วให้กับแฟนสโมสร เมื่อเขาบอกกับสื่อยุโรปว่าที่เขาเลือกบาร์เซโลนา มากกว่าที่จะเลือกเรอัลมาดริดเพราะว่า เขาไม่สามารถเล่นกับสโมสรที่เกี่ยวข้องกับจอมพลฟรังโกได้ เขายังเป็นที่โปรดปรานเมื่อเขาตั้งชื่อลูกชายในภาษาคาตาลันว่า คอร์ดี (Jordi) ตามชื่อนักบุญท้องถิ่น[28] อีกทั้งยังมีนักฟุตบอลคุณภาพอย่าง ควน มานวยล์ อาเซนซี, การ์เลส เรซัก, และ อูโก โซติล ก็ทำให้ให้ทีมชนะในลาลีกาในฤดูกาล 1973–74 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960[4] โดยชนะเรอัลมาดริด 5–0 ที่สนามเบร์นาเบว ขณะแข่งขัน[29] ครัฟฟ์ยังได้รับเลือกเป็นนักฟุตบอลยุโรปยอดเยี่ยมแห่งปี ค.ศ. 1973 สำหรับฤดูกาลแรกของเขากับบาร์เซโลนา (เป็นการได้รับบัลลงดอร์ครั้งที่ 2 ของเขา ครั้งแรกได้รับขณะเล่นให้กับอาแจ็กซ์ในปี ค.ศ. 1971) ครัฟฟ์ยังได้รับรางวัลนี้อีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 (เป็นคนแรกที่ทำได้) ในปี ค.ศ. 1974 ขณะที่เขายังเล่นให้กับบาร์เซโลนา[30]

[แก้] นูเญซและปีแห่งความมั่นคง (1978–2000)

ถ้วยการแข่งขันฟุตบอลยุโรป ที่บาร์เซโลนาแข่งขันชนะเลิศในปี ค.ศ. 1992

ในปี ค.ศ. 1978 ชูเซบ ยุยส์ นูเญซ เป็นประธานสโมสรที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสโมสร การเลือกตั้งเช่นนี้ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงของสเปนที่เปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1974 หลังจบสิ้นระบบเผด็จการของจอมพลฟรังโก เป้าหมายหลักของนูเญซคือการพัฒนาบาร์ซาสู่สโมสรระดับโลกโดยให้ความมั่นคงกับสโมสรทั้งในและนอกสนาม จากคำแนะนำของ ครัฟฟ์ นูเญซได้เลือกลามาซีอาเป็นสถาบันเยาวชนของบาร์เซโลนาเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1979[31] เขาดำรงตำแหน่งประธานเป็นเวลานาน 22 ปี และมีผลต่อภาพลักษณ์ของบาร์เซโลนาอย่างมาก นูเญซได้ถือนโยบายอย่างเคร่งครัดที่เกี่ยวข้องกับค่าจ้างทำงานและวินัย โดยให้ค่าตัวนักฟุตบอลอย่าง เดียโก มาราโดนา, โรมารีอู, โรนัลโด เท่ากับจำนวนเงินที่พวกเขาต้องการ[32][33]

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 สโมสรชนะในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพครั้งแรก โดยชนะทีมฟอร์ทูนาดึสเซลดอร์ฟ 4–3 ในนัดชิงชนะเลิศที่แข่งที่เมืองบาเซิล ที่มีผู้ชมแฟนสโมสรเดินทางมาชมมากกว่า 30,000 คน ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1982 มาราโดนาเซ็นสัญญาด้วยค่าตัวสถิติโลกสมัยนั้น กับจำนวนเงิน 5 ล้านปอนด์ กับสโมสรฟุตบอลโบคาจูเนียส์[34] ในฤดูกาลถัดมา ภายใต้การดูและของผู้จัดการทีม เมนอตตี บาร์เซโลนาชนะการแข่งขันโกปาเดลเรย์โดยชนะเรอัลมาดริด ในยุคของมาราโดนากับบาร์ซาค่อนข้างสั้น ต่อมาไม่นานเขาก็ย้ายไปอยู่กับนาโปลี ในการเริ่มฤดูกาล 1984–85 สโมสรได้จ้าง เทอร์รี เวเนเบิลส์ เป็นผู้จัดการทีม และเขาสามารถนำทีมชนะในลาลีกาได้ พร้อมกับลูกทีมจากการนำโดยกองกลางชาวเยอรมัน แบร์นด์ ชุสเทอร์ ในฤดูกาลถัดมาสโมสรเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในถ้วยยุโรปอีกครั้ง แต่ก็แพ้ไปในการยิงจุดโทษกับสโมสรฟุตบอลสแตอาวาบูคูเรชตี (โรมาเนีย: Steaua Bucure?ti) ที่เมืองเซบียา[32]

หลังฟุตบอลโลก 1986 ผู้ทำประตูสูงสุด แกรี ไลน์เคอร์ ได้เซ็นสัญญากับสโมสร พร้อมกับผู้รักษาประตู อันโดนี ซูบีซาร์เรตา แต่สโมสรก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับเมื่อมีชุสเทอร์ ต่อมาเวเนเบิลส์ถูกไล่ออกเมื่อเริ่มฤดูกาล 1987–88 และได้ ลุยส์ อาราโกเนส มาแทน นักฟุตบอลต่อต้านต่อประธานสโมสรนูเญซ ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า เอสเปเรีย (สเปน: Hesperia) และจบฤดูกาลด้วยชัยชนะ 1–0 ในการแข่งโกปาเดลเรย์ ชิงชนะเลิศกับเรอัลโซเซียดัด[32]

photo of Johan Cruyff
โยฮัน ครัฟฟ์ นำทีมชนะในลาลีกา 4 สมัยติดต่อกัน ในฐานะผู้จัดการทีมของบาร์เซโลนา

ในปี ค.ศ. 1988 โยฮัน ครัฟฟ์ ได้กลับมายังสโมสรในฐานะผู้จัดการทีมและเขาได้รวบรวมทีมที่รู้จักในชื่อ ทีมในฝัน เขาได้รวมนักฟุตบอลสเปนอย่าง ชูเซบ กวาร์ดีโอลา, โคเซ มารี บาเกโร และ ตซีกี เบกีริสไตน์ และยังเซ็นสัญญากับดาราจากต่างประเทศอย่าง โรนัลต์ คูมัน (ดัตช์: Ronald Koeman), ไมเกิล ลอดรุป (เดนมาร์ก: Michael Laudrup), โรมารีอู, และ ฮริสโต ชตอยชคอฟ (บัลแกเรีย: Hristo Stoichkov)[35] ภายใต้คำแนะนำของครัฟฟ์ บาร์เซโลนาชนะในการแข่งขันลาลีกา 4 สมัยติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 ถึง 1994 ชนะซามพ์โดเรียในนัดชิงชนะเลิศทั้งในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1989 และถ้วยยุโรป 1992 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ สโมสรยังชนะในโกปาเดลเรย์ ในปี ค.ศ. 1990, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ ในปี ค.ศ. 1992 และชนะในซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 3 ครั้ง กับจำนวนถ้วยรางวัล 11 ถ้วย ทำให้ครัฟฟ์เป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดของสโมสรจนถึงวันนี้ เขายังเป็นผู้จัดการทีมที่รับตำแหน่งนี้นานที่สุด เป็นเวลา 8 ปี[36] แต่ชะตาของครัฟฟ์ก็ได้เปลี่ยนไปใน 2 ฤดูกาลท้ายสุดของเขา เมื่อเขาพลาดหลายถ้วย ทำให้เขาต้องออกจากสโมสรไป[32]

บ็อบบี ร็อบสัน เข้ามาแทนที่ครัฟฟ์ในระยะเวลาสั้น ๆ ในฤดูกาล 1996–97 ฤดูกาลเดียว เขานำโรนัลโดมาจากพีเอสวีไอนด์โฮเวิน และยังชนะใน 3 ถ้วยคือ โกปาเดลเรย์, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และซูเปร์โกปาเดเอสปาญา ถึงแม้ว่าการเข้ามาของร็อบสันจะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ทางสโมสรก็ยังรอตัวลุยส์ วาน กัล[37] เช่นเดียวกับมาราโดนา โรนัลโดก็ออกจากสโมสรไปไม่นานจากนั้น ไปอยู่กับอินเตอร์มิลาน แต่ก็ได้วีรบุรุษคนใหม่อย่าง ลูอีช ฟีกู, เปตริก ไคลเฟิร์ท (ดัตช์: Patrick Kluivert), ลุยส์ เอนรีเก และ รีวัลดู ที่ทำให้ทีมชนะในโกปาเดลเรย์และลาลีกาในปี ค.ศ. 1998 และในปี ค.ศ. 1999 สโมสรฉลอง 100 ปี เมื่อชนะในปรีเมราดีบีซีออน (ลาลีกา) รีวัลดูเป็นนักฟุตบอลคนที่ 4 ของสโมสรที่ได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป แต่ถึงแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันในประเทศ แต่ก็พ่ายให้กับเรอัลมาดริดในแชมเปียนส์ลีก ส่งผลให้วาน กัลและนูเญซลาออกในปี ค.ศ. 2000[37]

[แก้] นูเญซออก ลาปอร์ตาเข้ามา (2000–2010)

buck-teethed footballer
ฝ่ายการตลาดของสโมสรได้วางกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ โดยนำดาราดัง รอนัลดีนโย มาทำการตลาด[38]

การจากไปของนูเญซและวาน กัล ไม่สามารถเปรียบได้กับการจากไปของ ลูอีช ฟีกู ซึ่งในตอนนั้นอยู่ในฐานะรองกัปตันทีม ได้กลายเป็นที่ชื่นชอบและชาวคาตาลันถือว่าเป็นพวกเดียวกับเขา แต่แล้วแฟนบาร์ซาก็ต้องคลุ้มคลั่งเมื่อฟีกูตัดสินใจย้ายไปอยู่กับทีมคู่แข่งอย่างเรอัลมาดริด เมื่อเขามาเยือนสนามกัมนอว์ เขาก็ต้องพบกับการตอบรับอย่างศัตรูอย่างสุดโต่ง ในการกลับมาเยือนครั้งแรกของเขา ผู้สนับสนุนสโมสรต่างก่อกวนอย่างเสียสติ มีการโยนขวดวิสกีลงมาในสนาม[39] ส่วนประธานสโมสร ชูอัง กัสปาร์ต เข้ามาทำหน้าที่แทนนูเญซ ในปี ค.ศ. 2000 เขาดำรงตำแหน่ง 3 ปี สโมสรเริ่มตกต่ำลงและผู้จัดการทีมเปลี่ยนเข้าเปลี่ยนออกหลายครั้ง วาน กัลมารับหน้าที่ผู้จัดการทีมเป็นครั้งที่ 2 กัสปาร์ตไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ได้ และในปี ค.ศ. 2003 เขาและวาน กัล ลาออกจากสโมสร[40]

หลังจากในยุคแห่งความผิดหวังของกัสปาร์ต สโมสรก็ฟื้นกลับมาอีกครั้ง จากประธานหนุ่มคนใหม่ ชูอัน ลาปอร์ตา และผู้จัดการทีมหนุ่มคนใหม่ อดีตนักฟุตบอลชาวดัตช์ ฟรังก์ ไรการ์ด (ดัตช์: Frank Rijkaard) ในส่วนของนักฟุตบอล มีนักฟุตบอลต่างชาติไหลบ่าเข้ามารวมกับนักฟุตบอลสเปน ทำให้สโมสรกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้ง บาร์ซาชนะในลาลีกาและซูเปร์โกปาเดเอสปาญา ในฤดูกาล 2004–05 และกองกลางของทีม รอนัลดีนโย ได้รับรางวัลนักฟุตบอลแห่งปีของฟีฟ่า[41]

ถ้วยรางวัล 6 ถ้วยในปี ค.ศ. 2009 ของบาร์เซโลนา

ในฤดูกาล 2005–06 บาร์เซโลนาก็ยังคงรักษาตำแหน่งแชมป์ในลีกและถ้วยซูเปอร์คัปได้อีก[42] ในแชมเปียนส์ลีก บาร์ซาชนะสโมสรจากอังกฤษ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ในรอบตัดสิน ชนะ 2–1 โดยตามหลังอาร์เซนอล 1–0 ที่มีจำนวนคน 10 บนสนาม 15 นาที ก่อนเวลาจะหมด พวกเขาก็กลับมาชนะได้ 2–1 เป็นชัยชนะถ้วยยุโรปครั้งแรกในรอบ 14 ปีของสโมสร[43] พวกเขายังได้ลงแข่งฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 2006 แต่ก็ได้พ่ายให้กับ อินเตร์นาเซียวนัล สโมสรของบราซิลในนัดตัดสิน ในช่วงท้ายเกม[44] ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นอย่างดีในฤดูกาล 2006–07 แต่ก็จบฤดูกาลด้วยการไม่ได้ถ้วยอะไรมาครอง และต่อมาในการออกทัวร์ก่อนเปิดฤดูกาลในสหรัฐอเมริกา ก็เกิดความขัดแย้งระหว่างนักฟุตบอล ซามูแอล เอโต กับผู้จัดการทีม ไรการ์ด ที่ตำหนิเรื่องการไม่ได้ถ้วยใดมาครอง[45][46] ในลาลีกานั้น บาร์ซาถือเป็นอันดับ 1 เกือบทั้งฤดูกาล แต่ด้วยความไม่ลงรอยกัน ตั้งแต่เริ่มปีใหม่ ทำให้เรอัลมาดริดกลับขึ้นมาเป็นแชมป์ของลีกได้ ส่วนในฤดูกาล 2007–08 บาร์เซโลนาก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นในปีก่อน ๆ ทำให้ผู้จัดการทีมบาร์เซโลนาชุดบี ชูเซบ กวาร์ดีโอลา ขึ้นมาเป็นผู้จัดการทีมแทนไรการ์ด จนจบฤดูกาล[47]

บาร์ซาชนะแอทเลติกบิลบาโอในรอบชิงชนะเลิศโกปาเดลเรย์ 2009 กับจำนวนประตู 4–1 ทำลายสถิติเป็นผู้ชนะมากที่สุดถึง 25 ครั้งสำหรับการแข่งขันนี้ อีก 3 วันต่อมาก็ชนะเรอัลมาดริดในลาลีกาทำให้บาร์เซโลนาเป็นผู้ชนะเลิศในฤดูกาล 2008–09 และจบฤดูกาลด้วยการชนะแชมป์ปีที่แล้วของแชมเปียนส์ลีก สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–0 ที่สนามสตาดีโอโอลิมปีโก ที่กรุงโรม เป็นชัยชนะครั้งที่ 3 ในแชมเปียนส์ลีก และเป็นทีมสเปนทีมแรกที่ได้ 3 ถ้วยในฤดูกาลเดียวกัน[48][49][50] สโมสรยังชนะการแข่งขันซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 2009 แข่งกับแอทเลติกบิลบาโอ[51] และในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2009 ที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลชาคห์ตาร์โดเนตสค์[52] บาร์เซโลนาก็ได้ชัยชนะมา ถือเป็นสโมสรยุโรปสโมสรแรกที่ชนะได้ทั้งในถ้วยในบ้านและถ้วยซูเปอร์คัพ ต่อมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 บาร์เซโลนาก็ชนะในฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 2009[53] ทำให้เป็นทีมแรกที่สามารถได้ถ้วยถึง 6 ถ้วยมาครอง[54] บาร์เซโลนายังสร้างสถิติใหม่ 2 สถิติให้กับวงการฟุตบอลสเปนในปี ค.ศ. 2010 โดยการเป็นผู้ชนะในลาลีกากับคะแนนสูงถึง 99 คะแนน และได้ถ้วยซูเปอร์คัพของสเปนมากที่สุด เป็นครั้งที่ 9[55]

[แก้] ลาปอร์ตาออก โรเซลล์เข้ามา (2010–ปัจจุบัน)

หลังจากที่ลาปอร์ตาออกจากสโมสรในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 ซานโดร โรเซลล์ ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานคนใหม่ โดยเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เขาได้คะแนน 61.35% (ลงคะแนนเลือกเขา 57,088 เสียง) ซึ่งถือเป็นสถิติการลงคะแนนมากที่สุด[56] โรเซลล์ได้เซ็นสัญญานำนักฟุตบอลเข้ามาอย่าง ดาบิด บียา จากบาเลนเซีย กับค่าตัว 40 ล้านยูโร[57] และ คาเบียร์ มาเชราโน จากลิเวอร์พูล ด้วยค่าตัว 19 ล้านยูโร[58] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 บาร์เซโลนาชนะในการแข่งขันกับคู่ปรับสำคัญเรอัลมาดริด ในเอลกลาซีโก ถึง 5–0 ในฤดูกาล 2010–11 บาร์เซโลนายังสามารถครองแชมป์ลาลีกา เป็นฤดูกาลที่ 3 ติดต่อกัน ด้วยคะแนน 96 คะแนน[59] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 สโมสรชนะในโกปาเดลเรย์นัดตัดสิน แต่ก็แพ้ให้กับเรอัลมาดริด 1–0 ที่สนามเมสตายา ในบาเลนเซีย[60] ในเดือนพฤษภาคม บาร์เซโลนาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2011 นัดตัดสิน 3–1 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ เหมือนเมื่อเจอกันครั้งก่อนในแชมเปียนส์ลีก 2009 ทำให้สโมสรชนะในถ้วยนี้เป็นครั้งที่ 4[61]

[แก้] ผู้สนับสนุน

ฉายาของผู้สนับสนุนบาร์เซโลนา คือ culer มาจากภาษาคาตาลันคำว่า cul (อังกฤษ: arse; ก้น) โดยในสนามกีฬาแห่งแรก กัมเดลาอินดุสเตรีย มีเขียนคำว่า culs ไปทั่วที่นั่ง ด้านความนิยมในประเทศสเปน ความนิยมในทีมบาเซโลนาอยู่ที่ 25% เป็นรองทีมเรอัลมาดริดซึ่งมี 32% ส่วนอันดับ 3 คือทีมบาเลนเซีย[62] และในยุโรปถือเป็นสโมสรที่เป็นที่ชื่นชอบอันดับ 2[63] จำนวนสมาชิกของสโมสรเพิ่มขึ้นจาก 100,000 ในฤดูกาล 2003–04 ไปเป็น 170,000 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009[64] ความนิยมที่เพิ่มขึ้นมาจากนักฟุตบอล รอนัลดีนโย และยุทธวิธีด้านสื่อของประธานสโมสร ชูอัน ลาปอร์ตา ที่มุ่งไปด้านสื่อออนไลน์สเปนและอังกฤษ[65][66]

นอกจากนั้น จากข้อมูลเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 สโมสรมีสมาชิกลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ 1,335 คน จากทั่วโลก โดยเรียกว่า เปนเยส แฟนของสโมสรที่ช่วยประชาสัมพันธ์สโมสรในท้องถิ่นของตนเองจะได้รับสิทธิในการเยี่ยมชมเมื่อมายังบาร์เซโลนา[67] ส่วนผู้สนับสนุนที่มีชื่อเสียง เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ที่เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสเปน โคเซ ซาปาเตโร[68][69]

[แก้] เอลกลาซีโก

เอลกลาซีโก ในแชมเปียนส์ลีก 2011
ดูบทความหลักที่ เอลกลาซีโก

มักจะเกิดความดุเดือดในเกมการแข่งขันระหว่างทีมที่แข็งแกร่งที่สุดของประเทศนี้ โดยเฉพาะใน ลาลีกา โดยเกมการแข่งขันระหว่างบาร์ซาและเรอัลมาดริด เรียกว่า เอลกลาซีโก (สเปน: El Clásico) ตั้งแต่เริ่มมีการแข่งขันระดับประเทศ ทั้ง 2 สโมสรเหมือนเป็นตัวแทนของคู่แข่งกันทั้ง 2 ภูมิภาคของสเปน คือ คาเทโลเนียและคาสไทล์ รวมถึง 2 เมืองด้วย การแข่งขันยังสะท้อนให้เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการเมืองและความตึงเครียดของทั้ง 2 วัฒนธรรม สามารถเห็นได้จากการออกกฎหมายในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน[70]

ในช่วงการปกครองแบบเผด็จการของ ปรีโม เด รีเบรา โดยเฉพาะจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก (ค.ศ. 1939–1975) วัฒนธรรมย่อยทั้งหมดถูกปราบปราม ภาษาที่ใช้ในดินแดนสเปนทั้งหมดต้องใช้ภาษาสเปน (ภาษาคาสติเลียนสเปน) ภาษาอื่นถูกห้ามใช้อย่างเป็นทางการ[71][72] บาร์เซโลนาเป็นเหมือนเครื่องหมายแห่งความต้องการอิสรภาพของชาวคาตาลัน บาร์ซากลายเป็นอะไรที่ "มากกว่าสโมสร" (สเปน: Més que un club) นักเขียนชาวสเปน มานวยล์ บัซเกซ มอนตัลบัน กล่าวไว้ว่า หนทางที่ดีที่สุดที่ชาวคาตาลันจะพิสูจน์ให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของตัวเอง คือการมาร่วมกับทีมบาร์ซา เป็นการเสี่ยงน้อยกว่าที่จะร่วมกับกลุ่มต่อต้านจอมพลฟรังโกและพอจะอนุญาตให้พวกเขาแสดงการเคลื่อนไหว[73]

ในทางกลับกัน เรอัลมาดริด แสดงให้เห็นถึงการเป็นศูนย์กลางอำนาจสูงสุดและระบอบการปกครองฟาสซิสต์[74][75] แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างสงครามกลางเมืองสเปน สมาชิกของทั้ง 2 สโมสร อย่างเช่น ชูเซบ ซุนยอล และ ราฟาเอล ซานเชซ เกร์รา ก็ต่างเจ็บปวดจากผู้สนับสนุนจอมพลฟรังโก

ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 บาร์เซโลนายิ่งแย่ลงไปเมื่อเกิดข้อพิพาทเรื่องการโยกย้ายทีมของ อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน ที่สุดท้ายลงเอยกับทีมเรอัลมาดริด และต่อมาก็เป็นกุญแจสำคัญในชัยชนะของทีม[76] ในคริสต์ทศวรรษ 1960 เรอัลมาดริดเข้าสู่รอบแพ้คัดออกในถ้วยยุโรป ทั้ง 2 ทีมเจอกัน 2 ครั้ง[4] ส่วนการเจอกันในถ้วยยุโรปครั้งล่าสุดคือในปี ค.ศ. 2002 ที่สื่อสเปนขนานนามว่า "นัดฟุตบอลแห่งศตวรรษ" มีผู้ชมมากกว่า 500 ล้านคน[77]

[แก้] เอลเดร์บีบาร์เซลูนี

คู่แข่งของบาร์ซาในท้องถิ่นเดียวกันคือ เอร์ราเซเดเอสปาญอล เป็นสมาคมในพระบรมราชูปถัมถ์ ก่อตั้งโดยแฟนฟุตบอลสเปน ซึ่งแตกต่างจากผู้บริหารหลักของบาร์ซาที่มีหลายสัญชาติ โดยมีประเด็นในการก่อตั้งสโมสรอย่างชัดเจนคือ ต่อต้านบาร์เซโลนา ที่พวกเขาไม่เห็นด้วยกับบาร์เซโลนา และเห็นว่าเป็นทีมของชาวต่างชาติ[78] เอสปาญอลยิ่งดูมีพลังขึ้นเมื่อชาวคาตาลันมองว่า "เป็นตัวยั่วโมโหแก่มาดริด"[79] สนามกีฬาเหย้าของเอสปาญอลอยู่ในย่านคนรวยที่เรียกว่า ซาร์รีอา[80][81]

ธรรมเนียมทั่วไปโดยเฉพาะในช่วงการปกครองของจอมพลฟรังโก ชาวบาร์เซโลนาส่วนใหญ่มองว่าเอสปาญอลเป็นสโมสรที่อ่อนข้อให้กับการปกครองจากส่วนกลาง ในทางตรงกันข้ามบาร์ซาเป็นเหมือนจิตวิญญาณของนักปฏิวัติ[82] ในปี ค.ศ. 1918 เอสปาญอลเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งตอนนั้นเป็นประเด็นปัญหาอยู่[78] ต่อมากลุ่มผู้สนับสนุนเอสปาญอลเข้าร่วมกับพวกฟาลังจิสต์ในสงครามกลางเมืองสเปน ฝั่งฟาสซิสต์ ถึงอย่างไรก็ตามความแตกต่างในอุดมการณ์นี้ ในการแข่งขันระหว่างทั้ง 2 ทีม ก็มีความสำคัญกับผู้สนับสนุนเอสปาญอลมากกว่าบาร์เซโลนา เนื่องจากอุดมการณ์ที่แตกต่างกันนี้ ในยุคปัจจุบันการแข่งขันเริ่มลดการเมืองลงไป และเอสปาญอลเปลี่ยนชื่อและเพลงสโมสรอย่างเป็นทางการจากภาษาสเปนเป็นภาษาคาตาลัน[78]

ถึงแม้ว่าจะเป็นนัดแข่งขันท้องถิ่นที่มีการแข่งขันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ลาลีกา แต่ก็เกิดความไม่เท่าเทียมกันมากที่สุดเพราะบาร์เซโลนามีความโดดเด่นอย่างมาก ในตารางคะแนนในลีก เอสปาญอลสามารถทำคะแนนได้เหนือกว่าบาร์เซโลนา 3 ครั้งในรอบเกือบ 70 ปี และในโกปาเดลเรย์ มีการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจากชาวคาตาลันในปี ค.ศ. 1957 ซึ่งบาร์ซาเป็นผู้ชนะ เอสปาญอลมีชัยชนะต่อบาร์ซามากที่สุด 6–0 ในปี ค.ศ. 1951 และเอสปาญอลมีชัยชนะเหนือบาร์ซา 2–1 ในฤดูกาล 2008–09 ทำให้เป็นทีมแรกที่ชนะบาร์เซโลนาได้ในสนามกัมนอว์ ในฤดูกาลที่ชนะ 3 ถ้วย[83]

[แก้] การเงินและเจ้าของ

ในปี ค.ศ. 2010 นิตยสาร ฟอบส์ สรุปมูลค่าของสโมสรบาร์เซโลนาอยู่ที่ราว 752 ล้านยูโร (1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ติดอยู่อันดับ 4 ตามหลังสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เรอัลมาดริด และอาร์เซนอล โดยดูจากตัวเลขในฤดูกาล 2008–09[84][85] และจากข้อมูลของดาลอยต์ บาร์เซโลนามีรายได้ 366 ล้านยูโรในฤดูกาลเดียวกันนี้ ติดอันดับ 2 เป็นรองเรอัลมาดริดที่มีรายได้ 401 ล้านยูโร[86]

เหมือนกับสโมสรอื่นอย่าง เรอัลมาดริด, แอทเลติกบิลบาโอ และโอซาซูนา ที่บาร์เซโลนาเป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งแตกต่างจากบริษัทจำกัดที่ไม่สามารถซื้อขายหุ้นของสโมสร มีแต่เพียงสมาชิก[87] สมาชิกของบาร์เซโลนาเรียกว่า socis ซึ่งมีตัวแทนของกลุ่ม และเป็นตำแหน่งบริหารสูงสุดของสโมสร[88] จากข้อมูลปี ค.ศ. 2010 สโมสรมี socis 170,000 คน[64]

จากการตรวจสอบบัญชีของดาลอยต์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 แสดงให้เห็นว่าบาร์เซโลนามีหนี้สุทธิ 442 ล้านยูโร เป็น 58% ของทรัพย์สินสุทธิที่ตีค่าโดยนิตยสาร ฟอบส์ ผู้บริหารทีมใหม่ของบาร์เซโลนา ซึ่งได้ให้ตรวจสอบบัญชีนี้ กล่าวไว้ว่า "ปัญหาเกิดจากโครงสร้าง" ซึ่งเป็นสาเหตุของหนี้[89]

อีเอสพีเอ็นรายงานข้อมูลในปี ค.ศ. 2011 ว่า หนี้รวมของบาร์เซโลนามีราว 483 ล้านเหรียญยูโร และหนี้สุทธิอยู่ที่ 364 ล้านเหรียญยูโร[90] อีเอสพีเอ็นยังพบว่า บาร์เซโลนาเป็นสโมสรที่นักฟุตบอลมีเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด มากกว่ากีฬาอาชีพใดในโลก และสูงกว่าคู่แข่งเรอัลมาดริด[91]

[แก้] สถิติ

ชาบี ครองสถิติล่าสุดในการเป็นนักฟุตบอลของสโมสรที่ลงแข่งมากที่สุด (577 นัด) และลงแข่งในลาลีกา (383 นัด)[92]

ผู้ที่ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของบาร์เซโลนาในทุกการแข่งขัน (รวมถึงในนัดกระชับมิตร) คือ เปาลีโน อัลกันตารา จำนวน 357 ประตู[92] ส่วนผู้ทำประตูสูงสุดในลีกคือ เซซาร์ โรดรีเกซ จำนวน 195 ประตูในลาลีการระหว่างปี ค.ศ. 1942 ถึง 1955[93] และมีนักฟุตบอล 4 คนที่ทำประตูได้มากกว่า 100 ประตูในลีกให้กับบาร์เซโลนา คือ เซซาร์ โรดรีเกซ (195), ลัสโซล คูบาลา (131), เลียวเนล เมสซี (119) และ ซามูแอล เอโต (108)

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 จำนวนการยิงประตูของบาร์เซโลนา ถึง 5,000 ประตู โดยเมสซียิงในนัดแข่งกับราซิงเดซานตันเดร์ ที่บาร์ซาชนะ 2–1[94] ในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2009 บาร์เซโลนาชนะเอสตูเดียนเตส 2–1 ทำให้ครองแชมป์ที่ 6 ในปีเดียวกัน และเป็นสโมสรฟุตบอลแรกที่สามารถือครองถ้วย 6 ถ้วยในฤดูกาลเดียวกัน[95] บาร์เซโลนายังถือสถิติผู้ครองแชมป์มากที่สุดในโกปาเดลเรย์ (25) และ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา (9)

ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1986 ในการชิงถ้วยฟุตบอลยุโรปที่แข่งกับยูเวนตุสรอบก่อนชิงชนะเลิศ มีผู้ชมมากที่สุดในการแข่งขันที่บาร์เซโลนาเป็นเจ้าบ้านถึง 120,000 คน[96] สนามกัมนอว์ยุคใหม่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่เปลี่ยนเป็นระบบที่นั่งทุกที่นั่ง ทำให้สถิติผู้ชมสูงสุดไม่สามารถทำลายไปได้ และจำนวนที่นั่งทั้งหมดของสนามคือ 98,772 ที่[97]

[แก้] ตราสโมสรและชุดกีฬา

diamond shaped crest surrounded by laurels and topped with a crown and a bat
ตราสโมสรแบบดั้งเดิม

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสโมสร ก็มีตราประจำสโมสร โดยตราสโมสรดั้งเดิมเป็นรูปหนึ่งในสี่ของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด โดยมี มงกุฎแห่งอารากอน (Crown of Aragon) และ ค้างคาวกษัตริย์เจมส์ (bat of King James) อยู่ด้านบนสุด โดยมีกิ่งไม้ 2 กิ่งอยู่ด้านข้าง โดยใบหนึ่งเป็นต้นลอเรลและอีกใบหนึ่งเป็นใบปาล์ม[98] ในปี ค.ศ. 1910 สโมสรได้จัดการประกวดการออกแบบตราสโมสรใหม่ โดยผู้ชนะได้แก่ การ์เลส โกมามาลา ซึ่งเป็นนักฟุตบอลของสโมสรช่วงนั้น ซึ่งตราสโมสรที่ออกแบบโดยโกมามาลากลายเป็นตราสโมสรมาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับเล็กน้อย ตราสโมสรประกอบด้วยรูป กางเขนของเซนต์จอร์จอยู่ในตำแหน่งซ้ายบน และธงชาติคาตาลันอยู่ในตำแหน่งขวาบน และสีประจำสโมสรอยู่ตำแหน่งด้านล่าง[98]

สีน้ำเงินและแดงบนเสื้อนั้น มีใช้ครั้งแรกในนัดแข่งกับฮิสปาเนียในปี ค.ศ. 1900[99] มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของการใช้สีน้ำเงินและแดงของเสื้อบาร์เซโลนา ลูกชายของประธานคนแรก อาร์เทอร์ วิตตี อ้างว่าเป็นแนวคิดของพ่อเขา ที่ใช้สีเช่นเดียวกับทีมโรงเรียนเมอร์แชนต์เทย์เลอร์สกูล ส่วนอีกคำอธิบายหนึ่ง นักเขียนที่ชื่อ โทนี สตรูเบลล์ กล่าวว่า สีทั้งสองนั้นมาจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ของรอแบ็สปีแยร์ ส่วนในคาเทโลเนีย เป็นที่เข้าใจว่า สีทั้งสองนั้นเลือกโดยชูอัง กัมเปร์ ซึ่งเป็นสีเดียวกับทีมบ้านเกิด คือ สโมสรฟุตบอลบาเซิล[100]

ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรมา บาร์เซโลนาไม่เคยมีโฆษณาบนเสื้อ จนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 สโมสรมีข้อตกลงร่วมกับ ยูนิเซฟ ในสัญญา 5 ปี ว่าจะมีตราสัญลักษณ์ของยูนิเซฟบนเสื้อทีมของบาร์เซโลนา โดยตกลงกันว่าสโมสรบริจาคเงิน 1.5 ล้านยูโร ต่อปีให้กับยูนิเซฟ (0.7 เปอร์เซนต์ของรายได้สโมสร) โดยผ่านทางมูลนิธิสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา[101] โดยมูลนิธิสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาเป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1994 จากคำแนะนำของประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจของบริษัทในขณะนั้น ไคย์เม คิล-อาลูคา จากแนวความคิดที่ว่าหากก่อตั้งมูลนิธิจะสามารถดึงดูดผู้สนับสนุนด้านการเงินทึ่ต้องการสนับสนุนองค์กรกีฬาที่ไม่แสวงหากำไร[102] ในปี ค.ศ. 2004 สมาชิกสโมสรสามารถเป็นหนึ่งใน 25 ของสมาชิกกิตติมศักดิ์ โดยบริจาคเงินระหว่าง 40,000–60,000 ยูโร (คำนวณจากอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันเท่ากับ 45,800–68,700 ยูโร) ต่อปี และมีสมาชิกสมทบอีก 48 คน ที่บริจาค 14,000 ยูโร (คำนวณจากอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันเท่ากับ 16,000 ยูโร) และผู้อุปถัมป์ไม่จำกัดจำนวน บริจาคที่ 4,000 ยูโรต่อปี (คำนวณจากอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันเท่ากับ 4,600 ยูโร) แต่ก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสมาชิกกิตติมศักดิ์จะสามารถเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายสโมสรหรือไม่ แต่จากข้อมูลของนักเขียน แอนโทนี คิง ระบุไว้ว่า "ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าสมาชิกกิตติมศักดิ์จะไม่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยก็มีอิทธิพลอย่างไม่เป็นทางการกับสโมสร"[103]

จนในฤดูกาล 2011–2012 บาร์เซโลนาก็หยุดการไม่มีการโฆษณาบนเสื้อ โดยได้เซ็นสัญญาเป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน 150 ล้านยูโร กับ มูลนิธิกาตาร์[104]

ช่วงเวลาผู้ผลิตชุดกีฬาผู้สนับสนุน
1982–1992 เมย์บา ไม่มี
1992–1998 กัปปา
1998–2006 ไนกี้
2006–2011 ยูนิเซฟ
2011– มูลนิธิกาตาร์, ยูนิเซฟ

[แก้] สนามกีฬา

an elevated view of the stadium at night
มุมมองสนามกัมนอว์ภายในสนาม

เริ่มแรกบาร์เซโลนาเล่นที่สนามกัมเดลาอินดุสเตรีย มีความจุราว 10,000 คนและสโมสรเห็นว่าสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่ดีพอกับสมาชิกที่เพิ่มขึ้น[105]

ในปี ค.ศ. 1922 ผู้สนับสนุนสโมสรมีเพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 คน และสนับสนุนเงินให้กับสโมสร ทำให้บาร์ซาสามารถที่จะสร้างสนามที่ใหญ่กว่า โดยสร้างสนามกัมเดเลสกอตส์ ที่มีความจุ 20,000 คน หลังจากสงครามกลางเมืองสเปน สโมสรเริ่มมีสมาชิกมากขึ้นและมีผู้เข้าชมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการขยับขยายสนาม โดยขยายอัฒจันทร์ใหญ่ในปี ค.ศ. 1946 ขยายอัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้ในปี ค.ศ. 1946 และสุดท้ายขยายอัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือในปี ค.ศ. 1950 หลังการขยับขยายครั้งสุดท้าย สนามเลสกอตส์สามารถจุคนได้ 60,000 คน[106]

หลังจากต่อเติมเสร็จ สนามเลสกอตส์ก็ไม่สามารถขยับขยายห้องได้เพิ่มขึ้นอีก และจากความสำเร็จในการเป็นผู้ชนะเลิศในลาลีกาติดต่อกันในปี ค.ศ. 1948 และ 1949 รวมถึงได้เซ็นสัญญากับนักฟุตบอล ลัสโซล คูบาลา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950 ที่ต่อมาเขายิงประตูให้กับสโมสร 196 ประตูใน 256 นัด ก็ยิ่งทำให้มีฝูงชนเข้ามาดูการแข่งขันมากขึ้น[106][107][108] สโมสรจึงเริ่มวางแผนการสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่[106] สนามกัมนอว์เริ่มก่อสร้างวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1954 วางศิลาฤกษ์ก้อนแรกโดยผู้ว่า เฟลีเป อาเซโด โกลังกา ที่ทำพิธีโดยอาร์ชบิชอปแห่งบาร์เซโลนา เกรโกเรียว โมเดรโก โดยใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1957 ด้วยค่าก่อสร้างทั้งหมด 288 ล้านเปเซตา เกินงบประมาณ 336%[106]

ส่วนหนึ่งของอัฒจันทร์ที่แสดงคำขวัญของบาร์เซโลนา "Més que un club" ที่หมายถึง 'มากกว่าสโมสร'

ในปี ค.ศ. 1980 มีการออกแบบสนามกีฬาใหม่ให้เข้ากับเกณฑ์พิจารณาของยูฟ่า สโมสรได้หาเงินจากผู้สนับสนุน โดยจะสลักชื่อบนหินด้วยจำนวนเงินเล็กน้อย แนวคิดนี้ได้รับการตอบรับจากผู้สนับสนุน โดยมีคนหลายพันคนร่วมสนับสนุน แต่ต่อมากลายเป็นข้อพิพาทเมื่อสื่อในมาดริด ยกประเด็นนี้เมื่อมีหินก้อนหนึ่งที่สลักชื่อ ประธานของเรอัลมาดริด และผู้สนับสนุนจอมพลฟรังโก ชื่อ ซานเตียโก เบร์นาเบว เยสเต[109][110][111] ต่อมาในการเตรียมงานสำหรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ได้มีการติดที่นั่ง 2 แถว เหนือแนวหลังคาเดิม[112] ปัจจุบันสนามจุคนได้ 99,354 คน เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป[113]

นอกจากนั้นยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น[114]

  • ซิวตัตเอสปอร์ตีบาชูอังกัมเปร์ (สนามฝึกซ้อมของสโมสร)
  • มาเซีย-เซนเตรเดฟอร์มาซีโอโอเรียลตอร์ต (ที่พักอาศัยของนักฟุตบอลเยาวชน)
  • มีนีเอสตาดี (ที่พักอาศัยของทีมสำรอง)
  • ปาเลาเบลากรานา (สนามฝึกซ้อมกีฬาในร่ม)
  • ปาเลาเบลากรานา 2 (สนามฝึกซ้อมในร่มแห่งที่ 2 ของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา)
  • ปิสตาเดเคล (ลานเล่นสเก็ตน้ำแข็งของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา)

[แก้] เกียรติประวัติ

สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลสเปน ในแง่ของจำนวนถ้วยรางวัลภายในประเทศและทุกถ้วย[115] โดยชนะในการแข่งลาลีกา 21 ครั้ง ชนะในโกปาเดลเรย์ 25 ครั้ง ชนะในซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 10 ครั้ง ชนะในโกปาเอบาดัวร์เต 3 ครั้ง[116] และได้รางวัล โกปาเดลาลีกา 2 ถ้วยและยังเป็นผู้ถือครองทั้ง 4 ถ้วยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในยุโรป โดยได้ชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 ครั้ง, ชนะในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 4 ครั้ง ชนะในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 ครั้ง และชนะฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 ครั้ง[117] พวกเขายังถือสถิติชนะในอินเตอร์-ซิตีส์แฟร์สคัป 3 ครั้ง ถ้วยต้นแบบของยูฟ่าคัพ[118]

นอกจากนั้นยังเป็นสโมสรยุโรปสโมสรเดียวที่แข่งในฟุตบอลระหว่างทวีปในทุกฤดูกาลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 และเป็น 1 ใน 3 สโมสรที่ไม่เคยตกชั้นในลาลีกา ร่วมกับทีมแอทเลติกบิลบาโอและเรอัลมาดริด ในปี ค.ศ. 2009 เป็นสโมสรสเปนสโมสรแรกที่ได้ถือครองแชมป์ 3 รางวัล คือ ลาลีกา, โกปาเดลเรย์ และแชมเปียนส์ลีก และในปีเดียวกันนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลสโมสรแรกที่ชนะในการแข่งขัน 6 รางวัลในปีเดียวกัน เพิ่มอีก 3 ถ้วยคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และ ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ

[แก้] การแข่งขันภายในประเทศ

[แก้] ลีก

  • ลาลีกา[119]
ชนะเลิศ (21): 1928–1929, 1944–45, 1947–48, 1948–49, 1951–52, 1952–53, 1958–59, 1959–60, 1973–74, 1984–85, 1990–91, 1991–92, 1992–93, 1993–94, 1997–98, 1998–99, 2004–05, 2005–06, 2008–09, 2009–10, 2010–11
รองชนะเลิศ (22): 1929–30, 1945–46, 1953–54, 1954–55, 1955–56, 1961–62, 1963–64, 1966–67, 1967–68, 1970–71, 1972–73, 1975–76, 1976–77, 1977–78, 1981–82, 1985–86, 1986–87, 1988–89, 1996–97, 1999–00, 2003–04, 2006–07

[แก้] ถ้วย

  • โกปาเดลเรย์[120]
ชนะเลิศ (25): 1909–10, 1911–12, 1912–13, 1918–19, 1921–22, 1924–25, 1925–26, 1927–28, 1941–42, 1950–51, 1951–52, 1952–53, 1956–57, 1958–59, 1962–63, 1967–68, 1970–71, 1977–78, 1980–81, 1982–83, 1987–88, 1989–90, 1996–97, 1997–98, 2008–09
รองชนะเลิศ (9): 1918–19, 1931–32, 1935–36, 1953–54, 1973–74, 1983–84, 1985–86, 1995–96, 2010–11
  • โกปาเดลาลีกา[121]
ชนะเลิศ (2): 1982–83, 1985–86
  • ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา[122]
ชนะเลิศ (10): 1983, 1991, 1992, 1994, 1996, 2005, 2006, 2009, 2010, 2011
รองชนะเลิศ (7): 1985, 1988, 1990, 1993, 1997, 1998, 1999
  • โกปาเอบาดัวร์เต (ต้นแบบของ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา)[123]
ชนะเลิศ (3): 1947, 1952, 1952[124]
รองชนะเลิศ (2): 1949, 1951

[แก้] ยุโรป

  • ถ้วยยุโรป / ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[125]
ชนะเลิศ (4): 1991–92, 2005–06, 2008–09, 2010–11
รองชนะเลิศ (3): 1960–61, 1985–86, 1993–94
  • ยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพ / ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ[126]
ชนะเลิศ (4): 1978–79, 1981–82, 1988–89, 1996–97
รองชนะเลิศ (2): 1968–69, 1990–91
  • อินเตอร์-ซิตีแฟร์สคัพ (ต้บแบบของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้จัดโดยยูฟ่า)
ชนะเลิศ (3): 1955–58, 1958–60, 1965–66
รองชนะเลิศ (1): 1961–62
  • ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ / ยูฟ่าซูเปอร์คัพ[127]
ชนะเลิศ (4): 1992, 1997, 2009, 2011
รองชนะเลิศ (4): 1979, 1982, 1989, 2006

[แก้] ระดับโลก

  • ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
รองชนะเลิศ (1): 1992
  • ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ[128]
ชนะเลิศ (2): 2009, 2011
รองชนะเลิศ (1): 2006

[แก้] ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

สโมสรในสเปนจำกัดให้มีผู้เล่นที่ไม่ได้มีสัญชาติยุโรปได้ไม่เกิน 3 คน ไม่รวมประเทศในกลุ่มประเทศในกลุ่มแอฟริกัน แคริบเบียน และแปซิฟิก ที่ลงนามในสัญญาข้อตกลงโกโตนู เนื่องจากขัดต่อกฎคอลปัก (Kolpak ruling) รายชื่อผู้เล่นที่แสดงเป็นสัญชาติดั้งเดิมของแต่ละคน แต่นักฟุตบอลที่ไม่ได้มีสัญชาติยุโรปมักจะถือ 2 สัญชาติในประเทศเครือสหภาพยุโรป

ข้อมูลวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2011[129][130] Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ

หมายเลข ตำแหน่งผู้เล่น
1 ธงชาติของสเปน GK บิกตอร์ บัลเดส (รองกัปตันทีมที่ 2)
2 ธงชาติของบราซิล DF ดาเนียล อัลวีส
3 ธงชาติของสเปน DF เชราร์ด ปีเก
4 ธงชาติของสเปน MF เซสก์ ฟาเบรกัส
5 ธงชาติของสเปน DF การ์เลส ปูยอล (กัปตันทีม)
6 ธงชาติของสเปน MF ชาบี เอร์นันเดซ (รองกัปตันทีม)
7 ธงชาติของสเปน FW ดาบิด บียา
8 ธงชาติของสเปน MF อันเดรส อีเนียสตา (รองกัปตันทีมที่ 3)
9 ธงชาติของชิลี FW อาเลกซิส ซานเชซ
10 ธงชาติของอาร์เจนตินา FW เลียวเนล เมสซี
11 ธงชาติของสเปน MF เตียโก อัลกันตารา
 
หมายเลข ตำแหน่งผู้เล่น
13 ธงชาติของสเปน GK โคเซ มานวยล์ ปินโต
14 ธงชาติของอาร์เจนตินา MF คาเบียร์ มาเชราโน
15 ธงชาติของมาลี MF เซดู แกตา
16 ธงชาติของสเปน MF เซร์คีโอ บุสเกตส์
17 ธงชาติของสเปน FW เปโดร โรดรีเกซ
19 ธงชาติของบราซิล DF มักซ์เวล
20 Flag of the Netherlands MF อิบราฮิม อเฟลไลย์
21 ธงชาติของบราซิล DF อาเดรียนู
22 ธงชาติของฝรั่งเศส DF เอริก อาบีดาล
24 ธงชาติของสเปน DF อันเดรว ฟุนตัส

[แก้] ยืมตัว

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ

หมายเลข ตำแหน่งผู้เล่น
ธงชาติของบราซิล DF เอนรีเก (ไปสโมสร ปัลเมย์รัส จนถึงมิถุนายน ค.ศ. 2012)
ธงชาติของเบลารุส MF อเล็กซานเดอร์ เฮล็บ (ไปสโมสร เฟาเอฟเอลโวล์ฟบูร์ก)
 
หมายเลข ตำแหน่งผู้เล่น
ธงชาติของบราซิล FW คีร์รีซง (ย้ายไป กรูเซย์รู)

[แก้] บุคลากร

[แก้] ทีมงานฝ่ายเทคนิคในปัจจุบัน

Photo of Guardiola
ชูเซบ กวาร์ดีโอลา ผู้จัดการทีมบาร์เซโลนาในปัจจุบัน
ตำแหน่งเจ้าหน้าที่
ผู้จัดการทีม ชูเซบ กวาร์ดีโอลา
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ตีโต บีลาโนบา
ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส โลเรนโซ บวยนาเบนตูรา, ปาโก เวย์รูโย, เอาเรลี อัลตีมีรา, ฟรันเซสก์ โกส
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู ควน การ์โลส อุนซูเอ
ผู้จัดการด้านฟุตบอล อันโดนี ซูบีซาร์เรตา
ผู้จัดการสถาบัน กีเยโม อามอร์
ผู้จัดการทีมเยาวชน เอวเซเบียว ซากริสตัง

ข้อมูลล่าสุด: 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
อ้างอิง:
FC Barcelona

[แก้] ฝ่ายจัดการ

Photo of Rosell
ซานโดร โรเซลล์ ประธานคนปัจจุบันของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา
ตำแหน่งชื่อ
ประธาน ซานโดร โรเซลล์
รองประธานฝ่ายสังคม คอร์ดี การ์โดเนร์
รองประธานฝ่ายกีฬา ชูเซบ บาร์โตเมว
ผู้บริหารฝ่ายสนับสนุนทั่วไป อันโตนี โรสซิก
เลขานุการ อันโตนี เฟรย์ซา
เหรัญญิก ซูซานา มอนเค
ผู้บริหารฝ่ายสังคม รามอน ปอนต์
Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  4,696
Today:  2
PageView/Month:  10

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com